ทำไมต้องมีประกันภัยไซเบอร์?

"อีกไม่ช้า PDPA หรือ พรบ. ข้อมูลส่วนบุคคล 2562 โดยกฎหมายจะมีผลบังคับใช้ พ.ค. 2563 คือกฎหมายที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของคนไทย ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะอยู่ในประเทศหรือต่างประเทศก็ตาม ดังนั้นบริษัทที่เคยเก็บข้อมูลลูกค้าควรจะต้องเข้าสู่การปรับตัว ไม่ว่าจะเป็น การเก็บข้อมูล, การใช้ข้อมูล, การควบคุมหากข้อมูลรั่วไหล"
 
แทบทุกบริษัทมีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากการละเมิดข้อมูล หรือการถูกปล่อยข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลที่เป็นความลับไปสู่สภาพแวดล้อมที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น การเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ได้ตั้งใจ การรั่วไหลของข้อมูลและการถูกแฮกข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของลูกค้าหรือข้อมูลของพนักงานในบริษัทเอง ซึ่งคงต้องยอมรับว่าต้นเหตุล้วนมาจากที่บริษัทในปัจจุบันมีการทำธุรกรรมทางธุรกิจผ่านการใช้เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดีย เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ต้องการความสะดวกสบายของโลกออนไลน์ และสิ่งเหล่านี้นับเป็นประตูที่เปิดรับการโจมตีทางไซเบอร์ (Cyberattacks)  และเมื่อการโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นมันมักจะตามมาด้วยต้นทุนและค่าใช้จ่ายมากมายแก่บริษัท ซึ่งหากมามองในส่วนของการบริหารความเสี่ยง บริษัทต้องตัดสินใจระหว่าง การหลีกเลี่ยง ควบคุม ยอมรับ และโอนความเสี่ยง ดังนั้นหากบริษัทจะเตรียมพร้อมรับมือความท้าทายนี้ด้วยการโอนถ่ายความเสี่ยง ประกันภัยไซเบอร์ นั้นจะเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์
 
ประกันภัยไซเบอร์ คือ การประกันภัยที่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก ความสูญเสียหรือเสียหายจากข้อมูล ระบบรักษาความปลอดภัยจากเครือข่าย ตลอดจนความผิดพลาดที่สร้างความเสียหายให้กับบุคคลภายนอกจากข้อมูลและระบบเครือข่ายนั้น ซึ่งประโยชน์หลักของประกันภัยไซเบอร์นั้น คือการถ่ายโอนความเสี่ยงที่จะเสียเงินมาให้บริษัทประกัน เมื่อถูกโจรกรรม หรือเกิดความเสียหายกับข้อมูล
 
ความคุ้มครองส่วนมากของประกันภัยไซเบอร์ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
  • ความคุ้มครองของผู้เอาประกัน (First Party Coverage) เช่น ความเสียหายจากการถูกทำลายต่อข้อมูล ค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้อง ความเสียหายที่ธุรกิจหรือระบบที่ใช้งานในการหารายได้ต้องหยุดชะงักซึ่งเป็นผลมาจากการโจมตีทางไซเบอร์
  • ความคุ้มครองบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง (Third Party Coverage) เช่น ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่ถูกนำข้อมูลไปเผยแพร่ทั้งในแง่ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลในส่วนบริษัท

 

 
อัพเดทล่าสุด: 28/1/2020
 
 

  • ผู้รับประกันภัย( Insurer ) คู่สัญญาซึ่งตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือชดใช้เงินจำนวนหนึ่ง ให้ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ ผู้เอาประกันภัย( Insured ) คู่สัญญาซึ่งตกลงจะส่งเบี้...

  • ประโยชน์จากการทำประกัน ด้านการลงทุนประกันชีวิตเปรียบเสมือนหลักทรัพย์ชนิดหนึ่งเช่นกัน เนื่องจากผู้ทำประกันจะได้รับดอกผลเช่นเดียวกับการฝากเงินในสถาบันการเงินทั่วไป ในส่วนที่แตกต่างกั...

  • เกี่ยวกับประกันการเดินทาง ประกันการเดินทาง เป็นประกันภัยรูปแบบหนึ่ง ซึ่งบริษัทประกันออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ผู้เดินทางหรือนักท่องเที่ยว ที่ต้องการความคุ้มครองความเสี่ยงการเดินทางเป็น...

  • ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์ หลายต่อหลายครั้งที่จะเกิดข้อโต้แย้งระหว่างบริษัทประกันภัยและผู้เอาประกันภัย ซึ่งจริง ๆ แล้วเหตุการณ์เช่นนี้คงเป็นสิ่งที่ใคร ๆ คงไม่อยากให้เกิด ...

  • การประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง คือ การประกันความเสียหายแก่เรือและทรัพย์สินหรือสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล และยังขยายของเขตความคุ้มครองไปถ...

  • แบบกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง การเลือกซื้อความคุ้มครองตามแบบเงื่อนไข จะมี 3 แบบเงื่อนไขให้เลือกโดยแต่ละแบบจะให้ความคุ้มครองไม่เท่ากันดังนี้ 1.แบบเงื่อนไข F.P.A. (Free of Par...